Multichain คืออะไร?

Multichain คืออะไร?

Multichain คืออะไร? 



บล็อกเชน (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาปฏิวัติระบบการกระจายอำนาจ (Decentralized) ด้วยคุณสมบัติที่โดเด่นคือความโปร่งใส ความปลอดภัย และข้อมูลในระบบไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายบล็อกเชนแบบดั้งเดิมเผชิญกับความท้าทายในด้านความสามารถในการปรับขนาด (Scalability) และการทำงานร่วมกันกับเชนอื่น ๆ  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย 



บทความนี้จึงจะพาผู้อ่านไปเจาะลึกกับเทคโนโลยี Multichain ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถรับมือกับข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถนำศักยภาพของบล็อกเชนมาใช้งานได้อย่างเต็มที่



ระบบการทำงานของ Multichain



เทคโนโลยี Multichain ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด การทำงานร่วมกัน และการกระจายอำนาจภายในระบบนิเวศของบล็อกเชน แตกต่างจากบล็อกเชนแบบดั้งเดิม โดยเครือข่าย Multichain ประกอบด้วยหลายเชนที่ทำงานร่วมกันแบบขนาน แต่ละเครือข่ายก็มีกฎระเบียบของตัวเอง ซึ่งความยืดหยุ่นนี้ช่วยให้ระบบบล็อกเชนสามารถพัฒนาปรับแต่งได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรมให้มากขึ้นด้วย



ระบบของ Multichain จะกระจายปริมาณงานข้ามหลาย ๆ เชน ทำให้มีความสามารถในการปรับขนาด นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเชนได้อย่างราบรื่น เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างเชนและทำให้เกิดการกระจายอำนาจ โดยโปรเจกต์ Multichain ที่น่าสนใจได้แก่ Polkadot, Cosmos และ Avalanche และอื่น ๆ 



Interchain Bridges คืออะไร?



Interchain Bridges เป็นตัวเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างเชนต่างๆ ภายในระบบนิเวศแบบ Multichain โดยการช่วยให้สามารถโอนสินทรัพย์ ข้อมูล และข้อความอย่างปลอดภัยข้ามเชน ตัวอย่างโปรเจกต์เช่น Chainlink และ Lens Protocol มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสะพานเชื่อมระหว่างเชน นอกจากนี้ยังทำให้มั่นใจว่าข้อมูลเชื่อถือได้และมีสภาพคล่องข้ามเชน



ความเสี่ยงและความท้าทายของ Multichain



  • ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย: สะพานเชื่อมระหว่างเชนทำให้เกิดช่องโหว่ของการโจมตีใหม่ ๆ ได้ นอกจากนี้ระบบก็ได้รับความเสี่ยงมากขึ้น

    

  • ข้อกังวลด้านการรวมศูนย์: การมีสะพานเชื่อมระหว่างเชนต้องอาศัยหน่วยงานส่วนกลาง อาจทำให้เกิดความระเบียบการควบคุม การเซ็นเซอร์ และความล้มเหลวเพียงจุดเดียว

    

  • ข้อจำกัดทางเทคนิค: การทำงานร่วมกันระหว่างบล็อกเชนต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากแต่ละเชนมีความแตกต่างทางเทคนิคในโปรโตคอล กลไกหรือโครงสร้างข้อมูล

    

  • ความท้าทายด้านกฎระเบียบ: การปฏิบัติตามกรอบกฎหมายต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อกำหนดของ KYC/AML รวมถึงข้อบังคับทางการเงินจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก เนื่องจากเเป็นการทำงานร่วมกันหลายบล็อกเชนและมีเขตอำนาจศาลหลายแห่งเข้ามาเกี่ยวข้อง



ข้อดีของ Multichain



  • ความสามารถในการปรับขนาดในเครือข่าย Multichain: เทคโนโลยี Multichain จัดการกับความท้าทายด้านการปรับขนาดโดยการใช้ Sidechains เพื่อช่วยประมวลผลธุรกรรมเฉพาะ ทำให้ลดภาระในเชนหลักและ Parallel Chain เพื่อให้ทั้งระบบสามารถทำงานพร้อมกันได้ กระจายปริมาณงานและปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปัจจุบันแอปพลิเคชันด้านการเงินก็นำเทคโนโลยี Multichain มาใช้จนประสบผลสำเร็จ ให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมในปริมาณมากได้ 

    

  • ความสามารถในการทำงานร่วมกันบน Multichain: Multichain ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันหลายเชนได้โดยการสื่อสารข้ามเชน ทำให้สามารถโอนสินทรัพย์ ข้อมูล และข้อความระหว่างเชนต่าง ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งความสามารถนี้เป็นจุดเด่นที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ นวัตกรรม และการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ Multichain ก็เป็นเทคโนโลยีที่สามารถดึงจุดแข็งของแต่ละเชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

    

  • ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในเครือข่าย Multichain: จากเทคโนโลยี Multichain จะให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวแล้วก็มีระบบที่สามารถรักษาความปลอดภัยได้ในระดับสูงเช่นเดียวกัน ภายในระบบจะแบ่งให้บล็อกเชนบางเครือข่ายดูแลเรื่องความเป็นส่วนตัว และแบ่งกลไกให้อีกส่วนดูแลเรื่องความปลอดภัยในด้านของข้อมูล ความถูกต้อง และการป้องกันกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบได้

    

  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Multichain ในโลกความเป็นจริง: ปัจจุบันเทคโนโลยี Multichain ถูกนำไปใช้งานในหลายภาคส่วน เช่น การจัดการ Supply Chain ระบบการดูแลสุขภาพ การให้บริการทางการเงิน การวิจัย รัฐบาล และพลังงาน โดยเทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วยให้สามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมต่าง ๆ ย้อนหลังได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ช่วยจัดเก็บและการแบ่งปันข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ช่วยให้การทำธุรกรรมรวดเร็วขึ้น ค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า และช่วยให้สามารถทำธุรกรรมข้ามพรมแดนได้ดีขึ้น กล่าวได้ว่าเทคโนโลยี Multichain เปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ และทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลาย ๆ อุตสาหกรรม



สรุป



เทคโนโลยี Multichain ทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงระบบนิเวศของบล็อกเชนให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม Multichain ก็ยังคงมีความเสี่ยงและความท้าทายในหลายด้านที่ต้องได้รับการแก้ไขอยู่ ไม่ว่าจะเป็นช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ข้อกังวลการรวมศูนย์ ข้อจำกัดทางเทคนิค และความท้าทายด้านกฎระเบียบ ซึ่งหากในอนาคตความท้าทายเหล่านี้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น เราคงจะได้เห็นการนำบล็อกเชนไปใช้อย่างแพร่หลายขึ้นจนอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามา Disrupt เทคโนโลยีดั้งเดิมเลยก็ได้



อ้างอิง

Multichain, Interchain Bridge

Blockchain

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด

เนื้อหาและกิจกรรมดังกล่าวจัดทำโดยบริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด ซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.