การวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐานคืออะไร?

การวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐานคืออะไร?

Fundamental Analysis คืออะไร?



การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือ FA (Fundamental Analysis) คือ แนวทางการลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์ ตรวจสอบปัจจัยต่าง ๆ ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของธุรกิจหรือองค์กรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะหามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของหลักทรัพย์นั้น 

เมื่อระบุมูลค่าที่แท้จริงได้แล้ว นักวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานจะนำมูลค่านั้นไปเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบัน เพื่อพิจารณาว่ามูลค่าปัจจุบันสูงเกินที่ควรเป็นจริง ต่ำเกิน หรือสมเหตุสมผล โดย ไม่ว่าราคาจะอยู่ในเกณฑ์ไหน นักวิเคราะห์ประเภทดังกล่าวเชื่อมั่นว่าราคาหลักทรัพย์จะต้องกลับคืนสู่มูลค่าที่แท้จริงอย่างแน่นอน



ดังนั้น กลยุทธ์การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน จึงเป็นแนวทางที่แสวงผลประโยชน์จากมูลค่าของสินทรัพย์ในตลาดที่ต่ำเกินจริง และมีโอกาสทำกำไรสูงในระยะกลางหรือยาว

วิธีใช้ FA



FA คือแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้ในเกือบทุกตลาดทางการเงิน เนื่องจากความสามารถในการหามูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ ที่มีประโยชน์ต่อการการตัดสินใจทางการลงทุนเป็นอย่างมาก



การวิเคราะห์พื้นฐานครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาและความรู้ เช่น งบการเงินของบริษัท ดัชนี้ชี้วัดต่าง ๆ สถาบันทางการเงิน เศรษฐกิจโลก และอื่น ๆ ซึ่งความรู้ทั้งหมดนี้ต่างเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ถูกคำนึงโดยนักลงทุนประเภท FA



อย่างไรก็ตาม เครื่องมือและความรู้ดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้กับทรัพย์สินทุกประเภท ผู้ใช้ FA ในประเภทของตลาดที่แตกต่างกัน จะต้องคำนึงถึงปัจจัยและตัวแปรที่แตกต่างกันไป 



นักวิเคราะห์ตราสารทุน อาจใช้งบดุลบริษัท ราคาหุ้น อัตราส่วน P/E และตัวแปรอื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ ในขณะที่นักวิเคราะห์ในตลาด Forex จะใช้ข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง พวกเขาพิจารณาข้อมูลธนาคารกลาง เพื่อระบุสถานภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ





FA ในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี



ตลาดคริปโทถือเป็นอีกตลาดนึง ที่มีปัจจัย เครื่องมือและข้อมูลสำหรับ FA ที่ต่างออกไป 



Network value-to-transaction (NVT) ratio



Network value-to-transaction (NVT) คืออัตราส่วนที่ประเมินมูลค่าของเครือข่าย ว่าสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าจริง หาได้จากอัตราส่วนที่เปรียบเทียบมูลค่าสุทธิของเครือข่ายบล็อกเชน (เท่ากับ Market Cap) ต่อปริมาณธุรกรรมที่ถูกจัดเก็บในบล็อกเชน (On-chain Transaction) ต่อวัน หรือการใช้งานต่อหนึ่งวันนั่นเอง



สมการ



NVT= network value (มูลค่าสุทธิของเครือข่าย) / Daily Transaction Volume (ปริมาณธุรกรรมต่อวัน)



ซึ่ง สำหรับการเปรียบเทียบ NVT ของสองปริมาณ หากตัวอัตราส่วนของอันไหนมากกว่า ก็สามารถตีความได้ว่าเครือข่ายบล็อกเชนนั้นมีราคาสูงเกินจริง ในขณะที่อีกเครือข่ายอาจจะมีราคาตำ่เกิน ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามูลค่าสุทธิของเครือข่าย (Market Cap) เหรียญ A และเหรียญ B เท่ากันที่ 10,000 บาท แตกต่างกันที่ อัตราส่วน NVT ของเหรียญ A คือ 50 แต่ NVT ของเหรียญ B อยู่ที่ 150



โดยทั่วไปแล้ว ทรัพย์สินที่มีค่า NVT น้อยกว่า จะถูกพิจารณาว่ามีราคาตำ่กว่ามูลค่าแท้จริง ตรงกันข้าม ถ้าทรัพย์สินมี NVT ที่สูงกว่าพิจารณาเป็นสินทรัพย์ทีมีมูลค่าเกินจริง ดังนั้น สรุปได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เครือข่ายของเหรียญ A ที่มี NVT น้อยกว่า อาจจะมีมูลค่าที่ตำ่เกินจริง ขณะที่อีกเครือข่ายอาจมีมูลค่าสูงเกินจริง



Daily active addresses/ users (DAA)



Daily active addresses คือเมตริกและดัชนีที่บ่งชี้จำนวนบัญชีผู้ใช้งานเครือข่ายคริปโท ภายในระยะเวลาหนึ่งวัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการใช้ดัชนีอื่น ๆ อย่างเช่น NVT ที่กล่าวมา และเพื่อชี้วัดแนวโน้มของเครือข่ายด้วยเช่นกัน



Price-to-mining-breakeven ratio



อัตราส่วน Price-to-mining-breakeven คืออัตราส่วนที่บ่งบอกความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อขุดเหรียญที่มีกลไกฉันทมติ (Consensus) รูปแบบ Proof of Work ผ่านอัตราส่วนของราคาเหรียญในตลาด ต่อต้นทุนในการขุด ซึ่งประกอบไปด้วยค่าไฟและต้นทุนของฮาร์ดแวร์



สมการ



Price-to-mining-breakeven = ราคาเหรียญในตลาด / ต้นทุนในการขุดเหรียญหนึ่งเหรียญ



โดยนอกจากที่อัตราส่วนนี้มีความสามารถที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว อัตราส่วนนี้ก็สามารถต่อยอดไปใช้เพื่อระบุสถานภาพของเศรษฐกิจได้ด้วย ถ้าอัตราส่วน Price-to-mining-breakeven ในการลงทุนมากกว่า 1 หมายความว่าการลงทุนในทรัพย์สินนั้นจะได้กำไร ทำให้ผู้คนหันเข้ามาขุดมากขึ้น เศรษฐกิจในส่วนนั้นจึงจะขับเคลื่อนด้วย



ข้อมูลพื้นฐานของทีมผู้สร้าง



แม้ว่าจะมีเทคนิคและดัชนีหลายชนิดให้วิเคราะห์ นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็มักจะยึดติดกับวิธีพื้นฐาน สำหรับการเลือกสินทรัพย์ในการลงทุน พวกเขาอาศัย Whitepaper ข้อมูลทีมผู้สร้าง และ Roadmap เพื่อทำความเข้าใจเป้าหมาย การใช้งาน เทคโนโลยี รวมไปถึงความสามารถของเจ้าของโปรเจค



ข้อดี



ด้วยสาเหตุที่ FA เกี่ยวข้องกับปัจจัยเศรษฐกิจที่เป็นภาพใหญ่มากการ TA แนวทางการวิเคราะห์แบบนี้จึงได้มีการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูง และยังสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเศรษฐกิจ ผลประกอบการของบริษัท และข้อมูลอื่น ๆ ก็สามารถพบเจอได้ในอินเตอร์เน็ตทั้งหมด 



ดังนั้น ถ้าทำได้ถูกวิธี นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเข้าถึงได้ง่ายดังกล่าวมาใช้งานเพื่อส่งเสริมการลงทุนได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ข้อเสีย



ถึงแม้ FA จะเป็นกลยุทธ์ที่ทำได้ง่าย นักวิเคราะห์สาย FA ที่มีความสามารถมากกลับหาได้ยาก เพราะการระบุมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์นั้นเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียเวลาพอสมควร มากไปกว่านั้น หลักทรัพย์ที่มีราคาต่ำเกินมูลค่าจริงยังไม่ได้ถูกการันตีด้วย ว่าในอนาคตราคาจะกลับไปเป็นมูลค่าที่แท้จริง



อ้างอิง



BinanceAcademy, Gemini, Oldweb

Trading

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด