Technical Analysis v.s. Fundamental Analysis: การวิเคราะห์แบบไหนดีกว่ากัน

Technical Analysis v.s. Fundamental Analysis: การวิเคราะห์แบบไหนดีกว่ากัน

Technical Analysis (การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค) คืออะไร?



การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคคือ การวิเคราะห์กราฟ เพื่อที่จะคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้ง หุ้น ทองคำ คริปโทเคอร์เรนซี และอื่น ๆ อีกมากมาย แถมยังสามารถกำหนดช่วงเวลาที่เราต้องการวิเคราะห์ได้อีกด้วย ส่วนประกอบสำคัญที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค คือ สภาพคล่องสูง, ราคาต้องไม่ถูกแทรกแซง และไม่มีข่าวที่ส่งผลกระทบรุนแรง หากเหรียญหรือสินทรัพย์ที่ต้องการวิเคราะห์ขาดองค์ประกอบ 3 อย่างนี้ ก็จะทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้อยประสิทธิภาพลง



จุดเด่นของ Technical Analysis



มีคำกล่าวที่ว่า ปัจจัยทั้งหมดของสินทรัพย์ได้ถูกสะท้อนให้อยู่ในรูปแบบของกราฟราคาแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคจึงมีความสะดวก เพราะสามารถวิเคราะห์จากกราฟราคาได้เลย ขณะที่ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ก็มักจะออกมาเป็นตัวเลข ทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์ได้ง่ายทั้งสำหรับระยะสั้นและระยะยาว





จุดด้อยของ Technical Analysis



การวิเคราะห์ทางเทคนิคต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์ รวมถึงมีความเข้าใจเครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์ เช่น Relative Strength Index (RSI), Moving Average (MA) และเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 



Fundamental analysis (การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน) คืออะไร?



การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคือ การวิเคราะห์พื้นหลังของสินทรัพย์ เช่น ภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อุปสงค์-อุปทาน และข่าวที่อาจส่งผลกระทบ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “นักเทรดสายข่าว” โดยจะเป็นการวิเคราะห์ข่าวต่าง ๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ ความขัดแย้ง ตลอดจนตัวเลขที่เศรษฐกิจต่าง ๆ เช่นอัตราจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อ ที่อาจมีผลกระทบต่อราคาไม่มากก็น้อย 



การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสที่มูลค่าของสินทรัพย์จะเติบโตจากปัจจัยดังกล่าวหากวิเคราะห์แล้วสามารถสรุปได้ว่ามีโอกาสเติบโต นักลงทุนจึงค่อยเข้าซื้อและเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต 





ข้อดีของ Fundamental Analysis



การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์โอกาสเติบโตของมูลค่าสินทรัพย์ในอนาคต จึงเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว และยังช่วยให้นักลงทุนมีความเข้าใจในสินทรัพย์และภาพรวมของอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น 





ข้อเสียของ Fundamental Analysis



ต้องใช้ข้อมูลค่อนข้างเยอะในการวิเคราะห์ ตั้งแต่ภาพรวมของสินทรัพย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ภาวะเศรษฐกิจ ข่าวสาร ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาในระยะสั้น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจึงไม่เหมาะกับการลงทุนระยะสั้น





สรุป Technical vs. Fundamental แบบไหนดีกว่ากัน? 



ตามสถิติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค หรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ก็มีนักลงทุนมืออาชีพหลายคนที่ประสบความสำเร็จกับวิธีที่ตัวเองถนัด 

นอกจากนี้ ในความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนสามารถใช้การวิเคราะห์ทั้ง 2 สองแบบควบคู่กันไป เพื่อการลงทุนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน วิธีที่ดีที่สุดคือควรศึกษาการวิเคราะห์ทั้งสองแบบ และนำมาใช้เสริมซึ่งกันและกัน





อ้างอิง:



eluforex , stockminute , coinbase , academy.binance

Trading

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด